ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2526) ได้ให้นิยามไว้ว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" เป็นระบบการประยุกต์ผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ วัสดุ และผลิตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ ได้แก่ อุปกรณ์โดยยึดหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ได้แก่ วิธีการ มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา ทั้งด้านการบริหาร หรืออีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษา เป็นระบบการนำวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
สันทัด และ พิมพ์ใจ (2525) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเอาความรู้แนวความคิด กระบวนการ ตลอดจนวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คาร์เตอร์ วี กูด (Carter V.Good, 1973) ได้กล่าวว่า " เทคโนโลยีการศึกษา " หมายถึงการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบ และส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน มากกว่าที่จะยึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติ โดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆ ในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง
กิดานันท์ (2543) ได้ให้ความหมาย ของ เทคโนโลยีการศึกษา ว่า เป็นการประยุกต์เอา เทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา
คณะกรรมการกำหนดศัพท์และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา (AECT, 1979) อธิบายว่า " เทคโนโลยีการศึกษา " (Educational Technology)เป็นกระบวนการที่มีการบูรณาการอย่างซับซ้อน เกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา สร้าง ประยุกต์ใช้ ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกลักษณะ หรืออาจกล่าวได้ว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" และขั้นตอนการแก้ปัญหาต่างๆ จะอยู่ในรวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่ได้มีการออกแบบ เลือก และนำมาใช้เพื่อใช้ พื่อมุ่งสู่จุดมุ่งหมาย คือ การเรียนรู้ นั่นเอง
เทคโนโลยีการศึกษา
จากความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ดังกล่าวข้างต้น ได้มีการขยายแนวคิด เกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาเพราะการเปลี่ยนทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)มาสู่พุทธิปัญญานิยม(Cognitivism)และรังสรรคนิยม(Constructivism)ประกอบทั้งความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ได้มีการปรับเปลี่ยนความหมายเหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลง ดังนี้
เทคโนโลยีการสอน
เทคโนโลยีการศึกษา หรือเทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) หมายถึง ทฤษฎี และการปฏิบัติเกี่ยวกับ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมิน ของกระบวนการและแหล่งการเรียน สำหรับการเรียนรู้ (Seels,1994)
จากความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า แหล่งการเรียน อาจจำแนกได้เป็น สาร(Message) คน (People)วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิควิธีการ(Techniques and Setting) กระบวนการในการวิเคราะห์ปัญหา และการสร้าง หรือผลิต การนำไปใช้ (Implementing) ตลอดจนการประเมินการแก้ปัญหานั้นจะกล่าวไว้ในส่วนของ การพัฒนาการวิจัยเชิงทฤษฎี การออกแบบ การผลิต การประเมินผล-การเลือก (Evaluation Section) ตรรกศาสตร์(Logistics) การใช้และการเผยแพร่ส่วนในเรื่องของกระบวนการของการอำนวยการหรือการจัดการ ส่วนหนึ่งจะกล่าวไว้ในเรื่องของ การบริหารจัดการองค์กร บุคคล ซึ่งความสัมพันธ์ของส่วนประกอบดังกล่าวแสดงไว้ในโมเดลของขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ที่จะกล่าวต่อไป
จากแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับ " เทคโนโลยีการศึกษา " อาจสรุปได้ว่า เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการที่มีการบูรณาการเกี่ยวกับ บุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ อุปกรณ์ และองค์กร อย่างซับซ้อน โดยการวิเคราะห์ปัญหา การผลิต การนำไปใช้ และประเมินผล เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์
นวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การทำสิ่งใหม่ๆ หรือ ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา มาจาก คำภาษาอังกฤษว่า Innovate มาจากคำว่า Innovare ซึ่งหมายถึง to renew, to modify อาจแปลความหมายได้ว่า ทำใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆเข้ามา (บุญเกื้อ,2543) นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาให้คำนิยามต่างๆไว้ดังนี้
Thomas Hughes ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มา ปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
จากความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า แหล่งการเรียน อาจจำแนกได้เป็น สาร(Message) คน (People)วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิควิธีการ(Techniques and Setting) กระบวนการในการวิเคราะห์ปัญหา และการสร้าง หรือผลิต การนำไปใช้ (Implementing) ตลอดจนการประเมินการแก้ปัญหานั้นจะกล่าวไว้ในส่วนของ การพัฒนาการวิจัยเชิงทฤษฎี การออกแบบ การผลิต การประเมินผล-การเลือก (Evaluation Section) ตรรกศาสตร์(Logistics) การใช้และการเผยแพร่ส่วนในเรื่องของกระบวนการของการอำนวยการหรือการจัดการ ส่วนหนึ่งจะกล่าวไว้ในเรื่องของ การบริหารจัดการองค์กร บุคคล ซึ่งความสัมพันธ์ของส่วนประกอบดังกล่าวแสดงไว้ในโมเดลของขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ที่จะกล่าวต่อไป
จากแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับ " เทคโนโลยีการศึกษา " อาจสรุปได้ว่า เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการที่มีการบูรณาการเกี่ยวกับ บุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ อุปกรณ์ และองค์กร อย่างซับซ้อน โดยการวิเคราะห์ปัญหา การผลิต การนำไปใช้ และประเมินผล เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์
นวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การทำสิ่งใหม่ๆ หรือ ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา มาจาก คำภาษาอังกฤษว่า Innovate มาจากคำว่า Innovare ซึ่งหมายถึง to renew, to modify อาจแปลความหมายได้ว่า ทำใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆเข้ามา (บุญเกื้อ,2543) นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาให้คำนิยามต่างๆไว้ดังนี้
Thomas Hughes ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มา ปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
มอร์ตัน (J.A. Morton, 1973) กล่าวว่า " นวัตกรรม " หมายถึง การปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ขึ้น และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุง เสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526) ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ไว้ว่า หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526) ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ไว้ว่า หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บุญเกื้อ ครวญหาเวช (2543) กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา หมายถึง เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิด หรือ การกระทำ รวมทั้ง สิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบ
นวัตกรรมการศึกษา
จากความหมายของ " นวัตกรรม " ที่กล่าวมา ดังนั้น " นวัตกรรมการศึกษา " คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. มีการ ศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี มาใช้อย่างเป็นระบบ
3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากว่า สิ่งใหม่ นั้นได้มีการเผยแพร่จนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แล้วจะกลายเป็นเทคโนโลยี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น